ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา ข้อสงสัย

ทำไมถึงเรียกว่า "บางพระ"

ที่มาของคำว่า "บางพระ" นั้นมีข้อสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ หลายเรื่อง แต่ที่พอมีเค้าแห่งที่มาของคำว่า บางพระ ใกล้เคียงที่สุด คือ เรื่องที่เล่ากันว่า… เมื่อสิ้นฤดูกาล หลังออกพรรษา มีพระธุดงค์จากที่ต่าง ๆ เดินทางมาปักกลดทำวิปัสสนากรรมฐานคราวละมาก ๆ ทยอย กันมาเป็นกลุ่ม ๆ มิได้ขาด บางครั้งมาเป็นร้อย ๆ รูป ชาวบ้านพากันมาทำบุญถวายอาหารกันอย่างพร้อมเพรียง เพิ่งมาสิ้นสุดเอาเมื่อไม่นานมานี้ จึงเรียกกันติดปากในหมู่ผู้ที่มาทำบุญว่าเป็นย่านที่มีพระมาก หรือบ้านบางพระ แล้วกลายมาเป็นบางพระในที่สุด

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์
ความหมายของดวงตราประจำองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ มีดังนี้
  • เขาพระพุทธบาทบางพระ : เป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นสิ่งเคารพบูชาของชาวตำบลบางพระ
  • อ่างเก็บน้ำบางพระ : เป็นอ่างเก็บน้ำสำคัญ สำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค ให้ตำบลบางพระ และจังหวัดชลบุรี
  • สวนสัตว์เปิดเขาเขียว : เป็นผืนป่าแห่งเดียวในจังหวัดชลบุรี มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ด้วยแมกไม้นานาพรรณ

ประวัติ และข้อมูลท้องถิ่น

ประวัติตำบลบางพระ

บางพระเป็นเมืองเก่า ในแผนที่ไตรภูมิโบราณ เมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกปรากฏชื่อบางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ (บางพระ) และบางละมุง ซึ่งในแผนที่ดังกล่าวไม่มีเมืองชลบุรี เพราะเมืองชลบุรี เพิ่งปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนี้เอง

เดิมตำบลบางพระมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เต็มไปด้วยป่าเขาลำเนาไพรปกคลุมหนาแน่น ไม่มีแม่น้ำลำคลอง มีแต่ลำห้วยสายยาว ต้นน้ำเกิดจากเขาเขียวในหมู่ที่ ๕ และ ๗ ไหลคดเคี้ยวลงมาออกสู่ทะเล ที่ท้ายบ้านหมู่ที่ ๑ ของบางพระ ประชาชนอาศัยเป็นชุมชนเล็กตามริมห้วย อาศัยน้ำในลำห้วยสำหรับอุปโภค บริโภคตลอดมา ปัจจุบันประชาชนอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำชลประทาน ซึ่งสร้างขึ้นภายหลัง ส่วนลำห้วยตอนล่างได้มีโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังขนาดใหญ่มาตั้งแล้วปล่อยน้ำเสียลงลำห้วย กลายเป็นห้วยน้ำเหม็นใช้การไม่ได้ แม้ภายหลังบริษัทจะทำที่กักเก็บน้ำเสียแล้วก็ตาม แต่เนื่องจาก หมักหมมมาเป็นเวลาหลายปี จึงไม่สามารถแก้ไขให้น้ำดีได้ ห้วยนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อเป็นตอนๆ ลงมาตอนล่างเรียกว่า "ห้วยสุครีพ"

สะพานโค้งบางพระ-ชลบุรี

สะพานโค้งบางพระ ชลบุรี

สะพานโค้งบางพระ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตำบลบางพระ เคยมีฐานะเป็นเมือง เรียกว่า "เมืองบางพระ" ที่ทำการตั้งอยู่ที่เนินกว้างเชิงสะพานข้ามห้วย ซึ่งถนนสุขุมวิทตัดผ่านเดิมเป็นสะพานโค้งเรียกว่า "สะพานโค้งบางพระ" แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็นสะพานเรียบเสมอถนนสุขุมวิท ซึ่งถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็นว่ามีสะพาน มีที่คุมขังนักโทษตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าในเขตหมู่ที่ ๓ ริมทะเล ซึ่งชาวจีนใช้เป็นที่จัดงานวันประเพณีทิ้งกระจาดมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี พ.ศ. 2537 เมืองบางพระ ได้กลายเป็นอำเภอบางพระ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบางพระมาตั้งอยู่ที่ตำบลศรีราชา ส่วนที่เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบางพระ" มาเป็น "อำเภอศรีราชา" นั้นได้เปลี่ยนเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ ส่วนบางพระกลับกลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอศรีราชามาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนร่องรอยของที่ทำการเมืองหรือที่ว่าการอำเภอบางพระ และที่คุมขังนักโทษไม่มีให้เห็นอีกแล้ว
ประเพณีแห่พญายม-ชลบุรี

ประเพณีแห่พญายมบางพระ ชลบุรี

ประเพณีแห่พญายม
การที่บางพระเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบสานสืบทอดกันมาน เช่น ประเพณีกองข้าวและประเพณีแห่พญายม ที่จัดขึ้นในเทศกาลงานสงกรานต์ โดยเฉพาะประเพณีแห่พญายมของชาวบางพระ เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติแล้วในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๖
เขาฉลาก-ชลบุรี

เขาฉลากบางพระ ชลบุรี

เรื่องเล่า "ถ้ำสมบัติ"
บางพระมีเรื่องเล่ากันติดปากกันหนึ่งเรื่อง คือ เรื่อง "ถ้ำสมบัติ" เล่าว่า เขาฉลาก มีถ้ำหนึ่ง มีสิ่งของเครื่องใช้มากมาย ผู้ใดจะทำบุญหรือจัดงานใหญ่สามารถยืมของใช้ได้จากถ้ำนี้ ครั้นอยู่ต่อมาผู้ยืมไม่นำของไปคืนบ้าง สับเปลี่ยนเอาของดี ๆ ไว้เป็นส่วนตัวบ้าง ปากถ้ำเลยปิด ยืมของไม่ได้อีกเลย วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยากเห็นถ้ำจึงเดินไปหาถ้ำจนพบ แต่เวลาจะเข้าถ้ำต้องตะแคงตัวเข้าไป ครั้นเมื่อเข้าไปแล้วก็ไม่พบสมบัติแต่อย่างใด คงพบแต่งูใหญ่แผ่แม่เบี้ยเฝ้าอยู่ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีใคร ได้พบถ้ำนั้นอีกเลย นอกจากวันดีคืนดีจะได้ยินเพลงกล่อมลูก แว่วมาเป็นครั้งคราวเท่านั้น

รู้หรือไม่ ? ต.บางพระ มีบ่อน้ำพุร้อน

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ-ชลบุรี

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ ชลบุรี

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ-ชลบุรี

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ ชลบุรี

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ-ชลบุรี

บ่อน้ำพุร้อนบางพระ ชลบุรี

ในอดีต บางพระมีบ่อน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงมานาน ซึ่งรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จมาแวะชม เมื่อปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นน้ำผุดขึ้นจากใต้ดินตามธรรมชาติ มีเรียงรายติดกันถึง 3 บ่อ เป็นบ่อน้ำร้อน 1 บ่อ อุณหภูมิน้ำประมาณ 80 – 90 องศาเซลเซียส สามารถต้มไข่ให้สุกได้ อีกบ่อหนึ่งเป็นน้ำอุ่น และบ่อสุดท้ายจะเป็นน้ำเย็น และในปัจจุบันนี้บ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ยังคงความร้อนอยู่

ชาวบ้านในสมัยนั้นนิยมไปเที่ยวไปอาบกันมาก เพราะมีความเชื่อถือว่าน้ำร้อนจากธรรรมชาติสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ แต่ต่อมาบริเวณบ่อน้ำพุร้อน ได้ถูกสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ ได้มีการสร้างอาคารคล้ายกระโจมครอบบ่อพุน้ำร้อน บ่อพุน้ำร้อนจึงสูญหายไปกลายเป็นอดีต แต่มีอ่างเก็บน้ำบางพระขนาดใหญ่ขึ้นมาทดแทน อ่างเก็บน้ำบางพระแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตน้ำประปาเลี้ยงชาวชลบุรีจนถึงทุกวันนี้

บ่อน้ำพุร้อน ต.บางพระ ชลบุรี

ข้อมูลสภาพทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม มีภูเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป มีอ่างเก็บน้ำบางพระ ที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตน้ำประปาเลี้ยงชาวชลบุรี ทั้งการอุปโภคบริโภคในภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม และยังมีพื้นที่ติดทะเล

อาชีพประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ ด้านการเกษตรกรรม ค้าขาย ประกอบธุรกิจขนาดย่อม รับจ้างในสถานประกอบการ และอาชีพทำการประมง

แหล่งน้ำที่สำคัญ
1. อ่างเก็บน้ำบางพระความจุประมาณ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. อ่างเก็บน้ำบ้านโป่งดินดำ ความจุประมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร
3. ลำห้วยธรรมชาติมี 5 สายได้แก่
(1) ลำห้วยกุ่ม
(2) ลำห้วยท่าไทร
(3) ลำห้วยกรุ
(4) ลำห้วยทางตรง
(5) ลำห้วยลิ้นจี่

เส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ
1. ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) เส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก
2. ถนนทางหลวงหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์)
3. ถนนสาย 3144 เส้นรอบอ่างเก็บน้ำบางพระ เป็นถนนที่สวยงามมีวิวทิวทัศน์ธรรมชาติทั้งสองข้างทาง เหมาะแก่การส่งเสริมและรองรับการท่องเที่ยวของตำบลบางพระ ฯลฯ

สถานศึกษา
1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 1 แห่ง ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 โรงเรียน ได้แก่
(1) โรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม
(2) โรงเรียนบ้านห้วยกรุ
(3) โรงเรียนบ้านทางตรง
(4) โรงเรียนวัดตโปทาราม
(5) โรงเรียนวัดเขาฉลาก

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
(1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองข่า
(2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งดินดำ

สถานพยาบาล
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยกุ่ม หมู่ที่ 5
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยกรุ หมู่ที่ 7

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
1. วัด จำนวน 8 แห่ง
(1) วัดปาลิไลวัน หมู่ที่ 4
(2) วัดพรหมาวาส หมู่ที่ 4
(3) วัดเขาไม้แดง หมู่ที่ 5
(4) วัดบ้านห้วยกรุ หมู่ที่ 7
(5) วัดตโปทาราม หมู่ที่ 8
(6) วัดจุลบรรพต (วัดหนองข่า) หมู่ที่ 11
(7) วัดป่าเขาพุวนาราม (เนตรดี) หมู่ที่ 11
(8) วัดสัจธรรมอุเทนถวาย หมู่ที่ 12

2. สำนักสงฆ์ และสถานที่ปฏิบัติธรรม จำนวน 6 แห่ง
(1) สำนักสงฆ์เขาเขียวโฆษิตาราม หมู่ที่ 5
(2) สำนักปฏิบัติธรรมสายสุดาภาวนาราม หมู่ที่ 5
(3) สำนักสงฆ์โสธรธรรมนิมิต หมู่ที่ 8
(4) สำนักสงฆ์บ้านทางตรงญาณสัมปันโน หมู่ที่ 8
(5) สำนักสงฆ์ป่าลันวา หมู่ที่ 11
(6) สำนักสงฆ์ไทรงาม หมู่ที่ 12

3. ศาลเจ้า 4 แห่ง ได้แก่
(1) ศาลเจ้าเกียวกัวแปะกง หมู่ที่ 5
(2) ศาลเจ้าฮุดโจ้ว หมู่ที่ 11
(3) ศาลเจ้าพ่อดำดง หมู่ที่ 11
(4) ศาลเจ้ากวนอู หมู่ที่ 12

การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว
1. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ
3. น้ำตกชันตาเถร
4. อ่างเก็บน้ำบางพระ
5. วัดบางพระวรวิหาร (รอยพระพุทธบาท)
6. เขาฉลาก (วัดพรหมมาวาส)
7. จุดชมวิวเขาฉลาก (วัดพรหมมาวาส)

ลานกีฬาอเนกประสงค์มีทั้งหมด 5 แห่ง
1. ลานกีฬาอเนกประสงค์ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
2. สนามฟุตบอล 7 คน องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
3. สนามฟุตบอล องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
4. ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านห้วยกุ่ม หมู่ 5
5. ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านโป่งดินดำ หมู่ 12
ลานกีฬาอเนกประสงค์

ลานกีฬาอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ

ลานกีฬาอเนกประสงค์

สนามฟุตบอล 7 คน องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ

ลานกีฬาอเนกประสงค์

สนามฟุตบอล องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ

ลานกีฬาอเนกประสงค์

ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านห้วยกุ่ม หมู่ 5

ลานกีฬาอเนกประสงค์

ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านโป่งดินดำ หมู่ 12

ห้องน้ำสาธารณะมีทั้งหมด 4 แห่ง
1. ห้องน้ำสาธารณะ ลานบริการนักท่องเที่ยว หมู่ 4
2. ห้องน้ำสาธารณะ ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านห้วยกุ่ม หมู่ 5
3. ห้องน้ำสาธารณะ ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านโป่งดินดำ หมู่ 12
4. ห้องน้ำสาธารณะ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว หมู่ที่ 11
ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำสาธารณะ ลานบริการนักท่องเที่ยว หมู่ 4

ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำสาธารณะ ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านห้วยกุ่ม หมู่ 5

ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำสาธารณะ ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านโป่งดินดำ หมู่ 12

ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำสาธารณะ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว หมู่ที่ 11

เนื้อที่อาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลบางพระเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 โดยใช้อาคารของสภาตำบลบางพระ เลขที่ 177-178 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางพระ เป็นที่ทำการ และปัจจุบันองค์การบริหาร ส่วนตำบลบางพระ ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ 11 ถนนสาย 3144 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอศรีราชา มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ : มีแนวเขตติดเทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลตำบลเหมือง และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี
ทิศใต้ : มีแนวเขตติดเทศบาลเมืองศรีราชา และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา
ทิศตะวันออก : มีแนวเขตติดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง
ทิศตะวันตก : มีแนวเขตติดเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา และอ่าวไทย

ข้อมูลหมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้าน และประวัติความเป็นมาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ องค์การบริหาร ส่วนตำบลบางพระ ประกอบด้วยหมู่บ้านต่าง ๆ จำนวน 10 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 2 บ้านตลาดใหม่ (มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ 30 กว่าปีแล้ว ลักษณะบ้านพักมักจะสร้างเป็นห้องแถวที่สร้างจากไม้เก่า ๆ ดำรงชีวิตเป็นแบบเรียบง่าย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และการประมงหมู่บ้านนี้เริ่มมีคนรู้จักเมื่อเริ่มมีการเปิดสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และเกษตรกรรมบางพระ ตลาดใหม่เป็น ทางผ่านระหว่างเขาเขียวกับเกษตรบางพระ

หมู่ที่ 4 บ้านเอสอาร์ (มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
ชื่อหมู่บ้านเอสอาร์นี้มาจากการที่บริษัทผลิตแป้งมันแห่งแรกของตำบลบางพระ เป็นของชาวญี่ปุ่น ชื่อบริษัทเอสอาร์ และทางบริษัทมีการสร้างบ้านพักให้คนงาน จึงได้ชื่อว่าหมู่บ้านเอสอาร์ ในหมู่บ้านเอสอาร์นี้มีบริษัทน้ำตาลทรายของบริษัทเอสอาร์ ชื่อว่าองค์การน้ำตาลทรายไทยบริษัทเอสอาร์ และมีตลาดย่อยในบริษัทนั้นย่อย ๆ อาชีพของประชาชนในหมู่บ้านนี้ คือ การปลูกอ้อย มีมันสำปะหลัง และผักตอนหลังมาสร้างอ่างเก็บน้ำประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว อ่างเก็บน้ำมีการสร้างในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนสร้างอ่างเก็บน้ำนั้นน้ำหายากมาก ทางราชการจึงได้สร้างอ่างเก็บน้ำ เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงมีน้ำใช้ในการเกษตร อย่างอุดมสมบูรณ์ มีคอกม้าตั้งประมาณ 30 ปีแล้ว บริเวณแถวอ่างเก็บน้ำจึงมีการเอาม้ามาเลี้ยง เพราะมีต้นไม้ต้นหญ้าและน้ำอุดมสมบูรณ์ มีทางรถไฟผ่าน เป็นเส้นทางจากฉะเชิงเทราถึงสัตหีบ ปัจจุบันในหมู่บ้านเอสอาร์นี้ จะเป็นบ้านจัดสรรหมดแล้ว สมัยก่อนจะมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นบ่อน้ำแร่ ชาวบ้านแถวนี้จะให้ความเคารพนับถือกันมาก จะนำน้ำมารักษาโรคต่าง ๆ ปัจจุบันอยู่ตรงกลางอ่างเก็บน้ำ และมีการทำเครื่องหมายไว้

หมู่ที่ 5 บ้านห้วยกุ่ม (มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
พื้นที่ของหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่า ชาวบ้านจะประกอบอาชีพการทำไร่ ในหมู่บ้าน มีโรงงานทำแป้งมัน มีโรงหีบอ้อย และมีตลาดสดเล็ก ๆ ไม่ใหญ่มาก มีสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ซึ่งได้สร้างเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดกรงนกใหญ่แห่งแรกของเมืองไทย ในเขตสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมีสถานที่ที่น่าสนใจอีกที่หนึ่ง คือ น้ำตก ชันตาเถร ซึ่งนักท่องเที่ยวจะนิยมไปเที่ยวกันมาก สาเหตุการตั้งชื่อหมู่บ้านว่าห้วยกุ่ม เป็นเพราะมีต้นกุ่มอยู่บริเวณห้วยที่ประชาชนใช้น้ำดื่มและอาบ และมีห้วยอีกแห่งหนึ่งอยู่ในบริเวณนั้น แต่น้ำใช้ดื่มกินไม่ได้มีชื่อว่า ห้วยสุดสม ซึ่งคนโบราณเล่าว่าในห้วยมีกลิ่นเหม็นคาว เหมือนน้ำตาลสุดสมจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์

หมู่ที่ 6 บ้านนาพุ (มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
หมู่บ้านนี้อยู่ใกล้กับเขื่อนกั้นน้ำที่ทำหน้าที่กั้นน้ำที่จะตกลงมาจากยอดเขา ซึ่งเขานี้จะดูดน้ำในอ่างเก็บน้ำขึ้นไปกรอง แล้วจึงปล่อยลงมาให้ชาวบ้านบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่มาก มีบ้านพักพนักงานอยู่และอาณาบริเวณยังติดกับสนามกอล์ฟบางพระ ซึ่งเป็นแห่งแรกของจังหวัดชลบุรี การที่จะขึ้นไปที่ยอดเขาจะต้องผ่านสนามกอล์ฟบางพระด้วย คนโบราณตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่าหมู่บ้าน นาพุ ซึ่งการตั้งชื่อนี้ได้ตั้งชื่อตามลักษณะภูเขา แต่สะกดผิด ไม่ตรงความหมาย

หมู่ที่ 7 บ้านห้วยกรุ (มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
มีระยะทางไม่ห่างจากหมู่บ้านห้วยกุ่ม ซึ่งอยู่ติดกับหนองตายาย หมู่บ้านนี้มียุงชุกชุมมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดไข้มาเลเรีย และนอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านที่มีช้างมากที่สุด รวมทั้งเสือ ซึ่งมีความดุร้ายมาก ดังนั้นบริเวณนี้จึงไม่ค่อยมีคนกล้าอยู่ จึงเรียนว่า “กรุ” มีความหมายว่าปิดกั้น ปัจจุบันหมู่บ้านนี้เจริญขึ้นมีผู้คนมาอาศัยอยู่มาก และมีโรงเรียนบ้านห้วยกรุ รวมทั้งยังมีธนาคารข้าวอีกด้วย

หมู่ที่ 8 บ้านทางตรง (มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
จะมีทางตรงติดกับโค้งดารา และชาวไร่ก็ใช้เส้นทางนี้เดินทางไปทำไร่ จึงได้ตั้งชื่อว่าทางตรง จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า ทางตรงภายในหมู่บ้านทางตรงมีการตั้งค่ายทหารเรือนาวิกโยธิน

หมู่ที่ 9 บ้านไร่ดินแดง (มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
คนโบราณเล่าว่า พาลีกับทรพีต่อสู้กันบริเวณนี้ เลือดของทรพีไหลลงมาแดงไปหมดจึงได้เรียกว่า "ไร่ดินแดง" ต่อมาเป็นหมู่บ้านไร่ดินแดง

หมู่ที่ 10 บ้านหินเพลิง (มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
มีหินเหล็กไฟอยู่บริเวณนี้ เมื่อนำมาตีจะเกิดประกายไฟ ใช้ก่อไฟได้ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หินเพลิง" และใช้เป็นชื่อเรียกหมู่บ้าน ตั้งอยู่บริเวณบางพระ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบางพระ ได้มาตั้งสาขาศึกษาเกี่ยวกับเกษตร ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว

หมู่ที่ 11 บ้านหนองข่า หรือหนองตายาย (มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนองตายาย ซึ่งมีป่าและมีไข้มาเลเรีย ระบาดอยู่มาก ใครเข้าไปในป่าหรือบริเวณใกล้เคียงก็จะถูกไข้มาเลเรียเล่นงานจนตายกันทั้งนั้น แต่มีตายายอยู่คู่หนึ่งซึ่งไปปลูกบ้านอยู่และทำไร่อยู่บริเวณนั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และจะมีหนองน้ำอยู่หนองน้ำหนึ่ง ซึ่งใครไปอยู่หรือไปใช้น้ำก็จะตายกันหมด ไม่สามารถพักอาศัยค้างแรมได้ ยกเว้นสองตายายนี้เท่านั้น

หมู่ที่ 12 บ้านโป่งดินดำ (มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ)
โป่ง คือ ดินดำที่สัตว์มากินเป็นอาหาร บริเวณนี้สัตว์ป่าชุกชุม เมื่อชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า โป่งดินดำ

ข้อมูลประชากร

ประชากรทั้งสิ้น 17,875 คน แยกเป็นชาย 9,048 คน หญิง 8,827 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 11,757 หลัง มีความหนาแน่นเฉลี่ย 117.60 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจากอำเภอศรีราชา เดือนกุมภาพันธ์ 2563)

หมู่ที่ จำนวนประชากร/คน จำนวนบ้าน/หลัง
ชาย หญิง รวม
2 692 438 1,130 777
4 964 999 1,963 887
5 794 769 1,563 724
6 658 677 1,335 983
7 1,061 1,076 2,137 1,104
8 819 878 1,697 684
9 1,184 1,241 2,425 2,731
10 1,188 1,381 2,569 2,502
11 850 850 1,679 986
12 838 539 1,377 379
รวม 9,048 8,827 17,875 11,757